ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งานเข้า กกต. เตือน ผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้ง ต้องไปแจ้งสาเหตุ ภายใน 31 มี.ค. 62 นี้ (รายละเอียด)


งานเข้า กกต. เตือน ผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้ง ต้องไปแจ้งสาเหตุ ภายใน 31 มี.ค. 62 นี้ (รายละเอียด)      


เรียกได้ว่าผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการประกาศว่าใครจะได้เป็นนายกฯคนต่อไป เนื่องจากต้องรอกกต.นับคะแนนให้เสร็จสิ้นและรอบคอบเสียก่อน โดยในวันที่เลือกตั้งมีคนออกไปใช้สิทธิ์จำนวนมาก และก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้ออกไปใช้สิทธิ์ เนื่องด้วยอาจไม่สะดวกต่อการเดินทาง หรืออาจติดธุระจำเป็นบางประการ โดยกกต.ได้ออกมาเตือนผู้ที่ไม่ได้ไปเลือกตั้งต้องแจ้งสาเหตุต่อนายทะเบียนภายใน31มี.ค.นี้เพื่อรักษาสิทธิทางการเมืองสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. เนื่องจากมีเหตุจำเป็น ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยขอรับแบบ ส.ส.1/8
หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือ ซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน สามารถแจ้งด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้งคือระหว่างวันที่ 25-31 มี.ค. 2562 นี้ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แล้วไม่ได้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งแล้วแต่เหตุนั้นไม่เป็นเหตุอันสมควร จะถูกจำกัดสิทธิตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
ซึ่งจำกัดสิทธิ 5 ประการ ดังนี้ 1. การยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส 2. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือรับเลือกเป็น ส.ว 3. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง

และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกจำกัดสิทธิ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิจะต้องแจ้งเหตุจำเป็นก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน (17-23 มี.ค.) หรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน (25-31 มีนาคม) เพื่อจะได้ไม่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าว ด้านกระทรวงมหาดไทยได้สรุปตัวเลขผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า (นอกเขต และนอกราชอาณาจักร)
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 28 ม.ค. ถึง 11 ก.พ. 2562 โดยนอกเขตเลือกตั้งมีผู้ลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 723,880 ราย ส่วนนอกราชอาณาจักรมีผู้ลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 50,142 ราย ใน 67 ประเทศ เหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุไว้ มีดังนี้ 1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
2. เจ็บป่วย สูงอายุ ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ 3. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร 4. อาศัยอยู่ห่างจากจุดลงคะแนนเลือกตั้ง เกินกว่า 100 กิโลเมตร 5. มีเหตุสุดวิสัยอื่น นอกเหนือจากที่ กกต. กำหนดไว้ ส่วนวิธีการแจ้งเหตุที่ไม่ไปเลือกตั้ง ควรแจ้งก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน จนถึงหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน โดยมีขั้นตอนทั้งหมด ดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ (ส.ส. 28) โดยระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน 2. แนบหลักฐานเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ 3. ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้ 3 วิธีการ คือ
ยื่นด้วยตนเองมอบหมายบุคคลอื่นไปยื่นแทน ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สิทธิทางการเมืองที่เสียไป จะกลับมาอีกครั้ง เมื่อใด ? การจำกัดสิทธิทั้ง 5 ประการ มีกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกให้นับเวลาการจำกัดสิทธิครั้งหลังนี้
โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ หากกำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง ข้อมูลจาก พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2561, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ขอบคุณ siamnews.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เริ่มปุ๊บ ล่มปั๊บ! ‘เราไม่ทิ้งกัน ลงทะเบียนรับ 5,000

เว็บไซด์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ที่ใช้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เงินเยียวยาจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนนั้น รัฐบาลระบุว่า ระบบสามารถรองรับการทำธุรกรรมได้ถึง 58,000 รายการในเวลาเดียวกัน หรือคิดเป็นจำนวน 3.48 ล้านคนต่อนาที โดยคาดว่าระบบจะสามารถรองรับจำนวนประชาชนที่ต้องการเข้ามาลงทะเบียนออนไลน์ได้แบบไร้กังวล แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น ผ่านไปไม่ถึงนาที ระบบก็ล่มแล้ว คาดว่าเพราะมีประชาชนแห่ลงทะเบียนกันเป็นจำนวนมาก  สำหรับมาตรการรับเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะให้สิทธิ์เฉพาะคนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุไว้เท่านั้น คือผู้ลงทะเบียนต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ให้เตรียมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลประกอบอาชีพ ข้อมูลนายจ้าง

#ใหญ่แม่งงคับซอยนักเลงรถซิ่งบางพลี... (10'ก.พ.60)

Credit  @บอล นางแดด

แม่ใจสลาย ลูกไลฟ์สดผูกคอต่อหน้า ไม่กล้าออกไปช่วยเพราะกลัวเคอร์ฟิว

เมื่อวันที่ 25 เม.ย. รับแจ้งจากชาวบ้าน บ้านสี่เหลี่ยม ต.สี่เหลี่ยม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ว่าเกิดเหตุสลดชายหนุ่มในหมู่บ้าน ซึ่งไปทำงานรับจ้างอยู่ที่ จ.ปทุมธานี ได้ถ่ายทอดสดหรือไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก ขณะกำลังจะผูกคอตัวเองภายในห้องพัก เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. วันที่ 24 เม.ย. ซึ่งญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ ที่เห็นไลฟ์ ต่างพยายามโทรและส่งข้อความเข้าไปปลอบใจ แต่ก็ไม่เป็นผล ชายหนุ่มคนดังกล่าวตัดสินใจใช้เชือกผูกคอตัวเองเสียชีวิตต่อหน้าญาติและเพื่อนๆ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่บ้านเกิดของผู้เสียชีวิต พบญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านกำลังช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ เพื่อรอรับร่างนายเอกพงษ์ หรือเอก อายุ 32 ปี ที่ไลฟ์ผูกคอเสียชีวิต กลับมาประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของครอบครัว โดยเฉพาะนางเอียด รักษา อายุ 54 ปี ผู้เป็นแม่ ที่ทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเห็นลูกก่อเหตุต่อหน้า แต่ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะอยู่ไกล ทั้งนี้ทราบว่าเพื่อนที่ทำงานด้วยกันที่ จ.ปทุมธานี ที่เห็นไลฟ์ก็พยายามโทรไปปลอบใจ แต่ไม่กล้าออกไปช่วยเพราะกลัวเลยเวลาเคอร์ฟิว เนื่องจากตอนเกิดเหตุก็ประมาณ 3 ทุ่มเศษแล้ว นางเอียด ก